วัยชรา


วัฒนธรรมภาคเหนือที่เกี่ยวกับผู้สูงอายุ




                          ประเพณีที่ทำให้กับผู้เฒ่าผู้แก่ของไทย

              ตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบันมีประเพณีที่กระทำกันมามากมายและทุกช่วงเวลาของชีวิต ทั้งเกิด แก่เจ็บและแม้กระทั่งตอนตาย ซึ่งทุกประเพณีล้วนมีเหตุผลของมัน สำหรับบทความนี้จะกล่าวถึงประเพณีที่ทำกันในช่วงของการแก่ ประเพณีที่นิยมทำให้ผู้เฒ่าผู้แก่ มีดังนี้

1.ประเพณีรดน้ำดำหัว


ประเพณีรดน้ำดำหัวเป็นพิธีต่อเนื่องจากวันสงกรานต์หรือวันขึ้นปีใหม่ของไทย เป็นประเพณีที่แสดงถึงความเคารพนบน้อบต่อบิดามารดา ผู้ใหญ่ หรือผู้มีพระคุณ เป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทีของผู้น้อยและขอขมาลาโทษที่ผู้น้อยอาจเคยล่วงเกินผู้ใหญ่ อีกทั้งเป็นการขอพรเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเองตลอดไปตั้งแต่วันแรกของการเริ่มประเพณีสงกรานต์จนถึงวันสุดท้ายของสงกรานต์
คำว่ารดน้ำดำหัวเป็นคำพูดของชาวเหนือที่จะไปรดน้ำขอขมา(ขอโทษ)ผู้ใหญ่และขอพรจากผู้ใหญ่ที่ตนเคารพนับถือ ซึ่งจะมีการอาบน้ำจริงๆคืออาบทั้งตัวและดำหัวคือสระผมด้วยสิ่งที่ใช้สระผมก็จะเป็นน้ำส้มป่อยหรือน้ำมะกรูด
การดำหัว ในความหมายทั่วไปของชาวล้านนาไทยนั้นหมายถึงการ สระผมแต่ในพิธีกรรม โดยเฉพาะในเทศกาลสงกรานต์ของทุก ๆ ปี หมายถึง การชำระสะสางสิ่งอันเป็นอัปมงคลในชีวิตให้วิปลาสปราดไป ด้วยการใช้น้ำส้มป่อยเป็นเครื่องชำระจึงใช้คำว่า ดำหัว มาต่อท้ายคำว่า รดน้ำ ซึ่งมีความหมายคล้ายกันกลายเป็นคำซ้อน คำว่า รดน้ำดำหัว

ตัวอย่างกิจกรรมในประเพณีรดน้ำดำหัวผู้เฒ่าผู้แก่ :https://www.youtube.com/watch?v=Tj06cin2Kk8&feature=youtu.be&fbclid=IwAR3rlXyXa5zXZxrlZJqDp_TPjoPCnkxhdO3wB4YaVDPblTA1x0eQ3r6t1tk

2.ประเพณีพิธีสู่ขวัญ

                พิธีสู่ขวัญ บางทีเรียกว่า "พิธีบายศรี" หรือ "บายศรีสู่ขวัญ" เป็นประเพณีสำคัญอย่างหนึ่งของชาวอีสาน ประเพณีสู่ขวัญทำกันแทบทุกโอกาส ทั้งในมูลเหตุแห่งความดีและไม่ดี ชาวอีสานถือว่าเป็นประเพณีเรียกขวัญ ให้มาอยู่กับตัว พิธีสู่ขวัญนี้เป็นได้ทั้งการแสดงความชื่นชมยินดี และเป็นการปลอบใจให้เจ้าของขวัญจากคณะ ญาติมิตรและบุคคลทั่วไป
ผู้ได้ดีมีโชคหรือผู้หลักผู้ใหญ่ที่เราเคารพนับถือมาเยี่ยมเราก็ยินดีจัดพิธีสู่ขวัญให้ ประเพณีสู่ขวัญจึงเป็น ประเพณีทำกันอย่างกว้างขวาง คำว่า"ขวัญ"นั้นเชื่อว่าเป็นสิ่งไม่มีตัวตนคล้ายกับจิตหรือวิญญาณแฝง อยู่ในตัวคนและสัตว์ ตั้งแต่เกิดมาทุกคนมีขวัญกันทั้งนั้นและในบางแห่งเรามักแปลว่า "กำลังใจ" ก็มีคำว่า "ขวัญ" ยังมีความหมายอีกว่าเป็นที่รักที่บูชา

→ พิธีบายศรีสู่ขวัญแบบล้่านนา พะเยา : https://www.youtube.com/watch?v=3G4aH6jcXnw&feature=youtu.be&fbclid=IwAR2n0HBk21cBwPAGl4IdQZ6f0JuyCvzTpm0I8GcMtg2iY7ynLkVmfnP_pRY

                                    
 ความเชื่อกับอาชีพ

1.อาชีพทำนา



               ลักษณะความเชื่อ
ประเพณีรับขวัญข้าว หรือ ประเพณีรับขวัญแม่พระโพสพจากกลางนามาประทับในยุ้งข้าว เมื่อทำพิธีนี้แสดงว่า ฤดูทำนาได้สิ้นสุดลง 
        1)วันศุกร์ข้าวลาน หมายถึง ประเพณีรับขวัญแม่พระโพสพเมล็ดข้าวที่ตกอยู่ตามลานไปไว้ที่ยุ้ง
            2)วันจันทร์ข้าวยุ้ง คือ การอัญเชิญแม่โพสพ(ข้าว) จากลานไปไว้ในยุ้ง
            ความสำคัญ  เป็นพิธีกรรมสำคัญที่ชาวนาต้องทำเพื่อจะทำให้ได้ผลผลิตข้าวดีในปีต่อไป






            1.1 พิธีกรรมก่อนการปลูกเป็นพิธีเพื่อบวงสรวง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบอกกล่าว อ้อนวอน ขอร้อง ขออนุญาต อันสะท้อนให้เห็นความคิด ความเชื่อเรื่องผี และอำนาจลึกลับ ที่สืบทอดมาแต่โบราณ ตลอดจนความคิด ความเชื่อทางพุทธศาสนา


     1.2 พิธีกรรมในช่วงเพาะปลูกเป็นพิธีที่จัดทำขึ้นเพื่อขอร้อง อ้อนวอนให้ผีหรือเทพช่วยดูแลข้าวที่ปลูก ให้เจริญงอกงามได้ผลดี ปลอดภัยจากสัตว์ ประเภทนก หนู และแมลงต่างๆ และขอขมาควายที่ได้เฆี่ยนตีในตอนไถนา ในภาคเหนือคือ พิธีแฮกนา

     1.3 พิธีกรรมเพื่อการเก็บเกี่ยว-ฉลองผลผลิตเริ่มตั้งแต่เมื่อข้าวสุกได้เวลาเก็บเกี่ยว จนกระทั่งนวด เสร็จแล้วนำข้าวขึ้นยุ้ง และนำไปปรุงเป็นอาหาร หรือตักขาย เมื่อข้าวสุกได้เวลาเก็บเกี่ยวก็จะมี พิธีแรกเกี่ยว เป็นการบวงสรวง และขอขมาแม่โพสพก่อนการเกี่ยวข้า
                                       
                                                    2.อาชีพทอผ้า


โดยจะมีความเชื่อตั้งแต่การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมไปจนถึงการทอและการใช้ผ้าไหม ซึ่งผู้เลี้ยงไหมมีความเชื่อว่า การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมในวันที่เป็นมงคลจะทำให้ได้ผลผลิตดีและจะทำให้ไม่มีปัญหาในการทอ

แหล่งอ้างอิง:
ประเพณีรดน้ำดำหัว
http://www.dmc.tv/page_print.php?p=%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%2F%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%93%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%94%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A7-%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C.html&fbclid=IwAR3RccwQKv5i1e3EJTne9p8wyqEn0EsmALlX2Fvn4TzS1C2esNGm_DMy3hI
พิธีบายศรีสู่ขวัญ
http://www.finearts.go.th/nakhonphanomlibrary/parameters/km/item/%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%82%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%8D?fbclid=IwAR2FIrb3HPnBVi2tHk1YXygrbN2csoZSbAPoyqOMoIFCvXUJUuMFD-O_vXI
ประเพณีรับขวัญข้าว
http://www.prapayneethai.com/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%93%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%82%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7?fbclid=IwAR1IiIgm5oho94YfxRoMy1ECxxNM0yveS22okS1J1Qq3IB93FWmLsHIMW1k
ความเชื่อการทำนา
https://www.isangate.com/new/isan-land/32-art-culture/knowledge/567-kwam-chuea-tam-na.html?fbclid=IwAR3oRRuo5z2YDphbXZJvqF1b478HGMFE8R_PWt7CrN-U6j-j9khzePqlDQQ