วัฒนธรรมที่เกี่ยวกับการเกิด
วัฒนธรรมที่เกี่ยวกับการเกิดของคนไทย การเกิดเป็นเรื่องที่สังคมไทยให้ความสําคัญ ส่วนจะมีพิธีรีตองมากน้อยเพียงไรก็แล้วแต่ความเชื่อ ของแต่ละคน หรือสังคมที่ตนอยู่ร่วมด้วย คนสมัยก่อนทําพิธิต่างๆก็เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดในระหว่างตั้งครรภ์ เพื่อให้สอดคล้องได้ง่าย แม่จะได้ไม่เป็นอันตรายถึงตายเพื่อคุ้มครองปกปักษ์รักษาทารกที่ คลอดให้ออกมาโดยปลอดภัยเนื่องจากในระยะนี้เด็กมีร่างกายบอบบางอ่อนแอ ความต้านทานโรคตํ่าวัฒนธรรมและประเพณีที่เกี่ยวกับการเกิดมีหลายรูปแบบ
ความเชื่อตอนตั้งครรภ์
- ความเชื่อ บางท้องถิ่นเชื่อว่า เด็กที่มาเกิดจะมาอาศัยที่ขาของแม่หรือที่น่องของพ่อเป็นเวลา 7 วัน ระยะนี้พ่อจะมีอาการปวดเมื่อย และอยากกินของเปรี้ยวๆโดยมีข้อห้ามสําหรับมารดามากมาย ตัวอย่างเช่น
๑. ห้ามนั้งที่บันไดนาน ๆ เพราะเชื่อว่าจะทําให้คลอดยาก
๒. ห้ามตอกตะปู เพราะตะปูทําให้ติดกันแน่น เชื่อว่าคลอดยาก
๓. ห้ามไปงานศพ เพราะผีจะตามมาบ้าน
๔. ห้ามคนท้องนอนหงาย ให้นอนตะแคงสลับกันด้านซ้าย-ขวา
ประเพณีการผูกเปล
- ก่อนนําเด็กลงเปล มีการผูกเปลให้เด็ก แม่ทานจะบริกรรมคาถาเชื้อเชิญแม่ซื้อให้อยู่กับเด็กการปูเปล เด็กจะใช้ผู้ใหญ่ที่เคยเลี้ยงง่าย ไม่ดื้อ ตอนเป็นเด็กมาช่วยปูให้ เพราะเชื่อว่าเด็กจะได้มีนิสัยเหมือนคนปูเปล พิธีขึ้นเปลต้องจัดสํารับประกอบด้วย มีขนมแดง ขนมขาว หมาก พลูหมู ข้าวเหนียว เซ่นบูชาแม่เปล ตอน อุ้มเด็กลงเปล แม่ทานจะกล่าวว่า “พุทธังรักษา ธัมมังรักษา สังฆังรักษา” แล้ววางทารกลงเปลให้นอนหงาย ศีรษะทางทิศตะวันออก หรือทิศใต้ และขับกล่อมเด็กด้วยการร้องเพลงร้องเรือ
พิธีกรรมทําขวัญเดือน (โกนผมไฟ)และลงอู่
- พิธีกรรมทําขวัญเดือน (โกนผมไฟ) จะทําเมื่อทารกคลอดออกมาจากครรภ์มารดาครบ 1 เดือน เพื่อเป็นการปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายออกจากตัวเด็กและเสริมความเป็นมงคล ถ้าผู้จะทําพิธีอยู่ในฐานะที่อัตคัดขัดสน จะกระทําแบบรวบรัดก็ได้โดยเอาด้ายสายสิญจน์ผูกข้อมือเรียกมิ่งขวัญแล้วก็ทําพิธีโกนตามฐานะเท่านั้นก็พอ การลงอู่ มีการจัดเตรียม ที่นอนเด็กในเปล และเอาของที่จัดไว้ให้เด็ก วางตามขอบเปลใต้เบาะ ใต้ หมอน จากนั้นนําแมวเลี้ยงที่สะอาด มีสร้อยที่คออุ้มลงในเปลแล้วอุ้มออก การที่เอาแมวลงเปลก่อนนั่นก็มี ความเชื่อว่าเด็กจะได้เลี้ยงง่ายเหมือนแมว หลังจากนั้นก็จะอุ้มเด็กมาลงนอนในเปลแล้วเห่กล่อม
- พิธีกรรมทําขวัญเดือน (โกนผมไฟ) จะทําเมื่อทารกคลอดออกมาจากครรภ์มารดาครบ 1 เดือน เพื่อเป็นการปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายออกจากตัวเด็กและเสริมความเป็นมงคล ถ้าผู้จะทําพิธีอยู่ในฐานะที่อัตคัดขัดสน จะกระทําแบบรวบรัดก็ได้โดยเอาด้ายสายสิญจน์ผูกข้อมือเรียกมิ่งขวัญแล้วก็ทําพิธีโกนตามฐานะเท่านั้นก็พอ การลงอู่ มีการจัดเตรียม ที่นอนเด็กในเปล และเอาของที่จัดไว้ให้เด็ก วางตามขอบเปลใต้เบาะ ใต้ หมอน จากนั้นนําแมวเลี้ยงที่สะอาด มีสร้อยที่คออุ้มลงในเปลแล้วอุ้มออก การที่เอาแมวลงเปลก่อนนั่นก็มี ความเชื่อว่าเด็กจะได้เลี้ยงง่ายเหมือนแมว หลังจากนั้นก็จะอุ้มเด็กมาลงนอนในเปลแล้วเห่กล่อม
ความเชื่อทั่วไปหลังการคลอด
- การใช้หัวไพลที่เสกอาคมผูกข้อมือเด็กเป็นการป้องกันผีร้าย แล้วนําเด็กลงเบาะโดยใช้คนซึ่งในวัย เด็กเป็นคนว่านอนสอนง่ายเป็นคนปูเบาะให้ ก่อนลงเบาะต้อเอาเด็กเวียนรอบเบาะ แล้วกล่าวว่า “ผีเอาไป พระเอามา” แล้ววางเด็ก ทําอย่างนี้จนครบ ๓ ครั้ง
- ในบางครั้งจะวางเด็กในกระด้งมีผ้านุ่งของแม่ฉีกเป็นผ้าอ้อม ใต้เบาะจะมีสมุด ดินสอ เข็ม วางไว้ เพื่อเป็นเคล็ดให้เด็กรักการอ่านเขียน มีความคิดรอบคอบและเฉียบแหลม
- การนํารกใส่หม้อดินใส่เกลือใช้ผ้าขาวห่อปิดผูกด้วยด้ายดิบสีขาวปนแดง แล้วเอาไปฝังบนจอม ปลวกและหาสิ่งป้องกันให้สัตว์ขุดคุ้ยได้
ความเชื่อเรื่องการพูด สํานวน
- ทักเด็กแรกเกิดว่า“น่าเกลียดน่าชัง”ลางสังหรณ์ คนโบราณท่านว่า เด็กแรกเกิดนั้นจะมี กลิ่นตัวที่หอมบริสุทธิ์ เด็กที่ได้รับการชมว่า “ น่ารักน่าเอ็นดู” แก้กรรม พวกวิญาณนั้นจะอิจฉาอาจจะพาเด็ก ไปลักซ่อน หรือมาแกล้งให้เกิดอาการร้องไห้ไม่หยุดได้และอาจจะเกิดอาการไม่สบายได้ ทางแก้ไขคือ สมัยก่อนจนถึงปัจจุบันนั้นเขาถึงให้พูดก่อนว่า “น่าเกลียดน่าชัง” แต่ถ้าเด็กมีอาการร้องไม่หยุด ทางแก้ไขไป หา “พระ” ให้ท่านเรียกขวัญให้มาอยู่กับเนื้อกับตัว
- ทักเด็กแรกเกิดว่า“น่าเกลียดน่าชัง”ลางสังหรณ์ คนโบราณท่านว่า เด็กแรกเกิดนั้นจะมี กลิ่นตัวที่หอมบริสุทธิ์ เด็กที่ได้รับการชมว่า “ น่ารักน่าเอ็นดู” แก้กรรม พวกวิญาณนั้นจะอิจฉาอาจจะพาเด็ก ไปลักซ่อน หรือมาแกล้งให้เกิดอาการร้องไห้ไม่หยุดได้และอาจจะเกิดอาการไม่สบายได้ ทางแก้ไขคือ สมัยก่อนจนถึงปัจจุบันนั้นเขาถึงให้พูดก่อนว่า “น่าเกลียดน่าชัง” แต่ถ้าเด็กมีอาการร้องไม่หยุด ทางแก้ไขไป หา “พระ” ให้ท่านเรียกขวัญให้มาอยู่กับเนื้อกับตัว
การตั้งชื่อ
- ไม่ว่าสมัยใด การตั้งชื่อ นับเป็นสิ่งที่มีความสําคัญ เพราะเด็กจะใช้ชื่อนั้นตลอดไป จนกว่าจะมีการเปลี่ยนชื่อ ซึ่งไม่นิยมทํากัน การตั้งชื่อต้องสอดคล้องกับมงคล กับวันเกิดของเด็ก ตามหลัก คัมภีร์ทักษา หลักของคัมภีร์ทักษามีดังนี้คือ
- ไม่ว่าสมัยใด การตั้งชื่อ นับเป็นสิ่งที่มีความสําคัญ เพราะเด็กจะใช้ชื่อนั้นตลอดไป จนกว่าจะมีการเปลี่ยนชื่อ ซึ่งไม่นิยมทํากัน การตั้งชื่อต้องสอดคล้องกับมงคล กับวันเกิดของเด็ก ตามหลัก คัมภีร์ทักษา หลักของคัมภีร์ทักษามีดังนี้คือ
๑. ชื่อที่ตั้ง จะต้องมีอักษรที่เป็นมงคล นามกับวันเกิดของเด็ก
๒. ชื่อที่ตั้ง จะต้องไม่มีอักษร ที่เป็ นกาลกิณี
๓. ชื่อที่ตั้ง จะต้องสอดคล้อง กับเพศของเด็ก คือ หากเป็นผู้ชาย ควรใช้ชื่อที่มีอักษรเป็น "เดช" นําหน้า ชื่อ ถ้าเป็นหญิง ควรใช่อักษรที่เป็น"ศรี" นําหน้าชื่อ