เสียชีวิต


 วัฒนธรรมภาคเหนือที่เกี่ยวกับการเสียชีวิต





  • พิธีลอดตาแหลว


       ตาแหลว  หมายถึงดวงตาของนกเหยี่ยวที่ชอบโฉบเฉี่ยวหรืองับเอาลูกเจี๊ยบไก่ไปกิน เชื่อกันว่าดวงตาของเหยี่ยวหรือนกแหลวนี้มีแววตาสามารถมองเห็นได้ไกลๆ เช่นเวลามันบินร่อนไปมาบนท้องฟ้า กางปีกอ้าถลาเล่นลมอย่างสบายใจ แต่ดวงตามันสอดส่องดูมาเบื้องล่าง เพื่อหาเหยื่อที่จะเอาไปเลี้ยงชีวิตมัน ยังชีพให้อยู่รอด…พอเห็นเหยื่อมันจะรีบดิ่งหัวโฉบลงมาเอาเหยื่อทันที..ฉับ..งาบติดปากเสยหัวบินกลับขึ้นไปบนท้องฟ้า
          ด้วยความเฉียบคมของแววตานกแหลวหรือเหยี่ยว จากความเชื่อและกุศโลบายผู้คนล้านนาจึงคิดสร้างต๋าแหลวไม้ขึ้นมาเพื่อให้ต๋าแหลวไม้สอดส่องดูแลสิ่งอาถรรพ์ เสนียดจัญไร มิให้เข้ามากรายใกล้ โดยการนำไม้ไผ่มาจักตอกขนาดตามที่ต้องการ แล้วเลาะเหลาปาดเอาคมผิวไม้ออกให้หมด หลังจากนั้นจึงนำเส้นตอกมาสานเป็นวงกลมหักทบปลายเส้นตอกให้สานกัน แล้วปล่อยปลายเส้นตอกคลี่ออกไปคล้ายลำแสงพุ่งออกจากศูนย์กลางหรือดวงตาของแหลวหรือตาเหยี่ยวนกเขา…ทางภาคกลางเรียกกันว่า “เฉลว”

         เมื่อสานเสร็จนำต๋าแหลวไปปักไว้ตามที่ต้องการป้องกันเภทภัย เสนียดจัญไร ขึด อาถรรพ์ เช่น ไปปักไว้ตามประตูบ้าน ตามบริเวณที่ประกอบพิธีกรรมต่างๆ บางครั้งหากเป็นงานใหญ่ๆ ผู้คนจะสานต๋าแหลวเจ็ดชั้น เพื่อให้มีความต้านทานป้องกันหนาแน่นยิ่งกว่าต๋าแหลวธรรมดาทั่วไป
        ปัจจุบันการสานต๋าแหลวยังคงมีอยู่ทั่วไปตามบ้านเรือน ผู้คนชนบทที่ยังคงนับถือต๋าแหลวในงานพิธีต่างๆไม่ว่างานมงคล งานอวมงคล แม้แต่งานของวัดบางแห่งก็ต้องสานต๋าแหลวไว้เช่นกัน
การลอดตาแหลว คือ พิธีตัดพราย หรือตัดอุบาทว์ ใช้ในกรณีที่มีคนในครอบครัวถึงแก่กรรมอันไม่เหมาะไม่ควร เป็นการตายผิดธรรมชาติ ซึ่งถือว่าเป็นการตายโหง เพื่อเป็นการทำให้ครอบครัวอยู่ดีมีสุข ไม่ให้วิญญาณผู้ที่เสียชีวิตไปแล้วนั้นรบกวน หรือมาทำอันตรายได้ จึงมีพิธีการตัดพรายหรือตัดอุบาทว์ขึ้นในวันที่จะฌาปนกิจศพผู้ตาย ญาติจะเชิญผู้ทำพิธีมาทำพิธีตัด โดยให้ทำนอกบ้านก่อนที่จะเคลื่อนศพสู่สุสาน 




  • พิธีลอยอังคาร

         พิธีลอยอังคาร (หมายถึง พิธีการลอย อัฐิ (กระดูก) และ อังคาร (เถ้า) ลงน้ำ) ข้อมูลเกี่ยวกับการลอยพระอังคารในสมัยกรุงศรีอยุธยานั้นพบข้อมูลน้อยมาก ซึ่งส่วนมากแล้วจะพบว่าเมื่อพระมหากษัตริย์และหรือเจ้านายพระราชวงศ์ชั้นสูงที่สวรรคตหรือสิ้นพระชนม์ลงนั้น ในช่วงต้นกรุงศรีอยุธยามักจะกระทำการจัดหาสถานที่ก่อสร้างพระเมรุและทำการเผาในที่นั้น


         ส่วนพื้นที่ดังกล่าวก็ยกถวายสร้างขึ้นเป็นวัดในเวลาต่อมา ส่วนอัฐินั้นก็จะนำบรรจุไว้ในพระโกศหรือหีบสี่เหลี่ยมนำไปบรรจุไว้ที่ท้ายจรนำวิหารหลวงในวัดพระศรีสรรเพชญ หากเป็นพระราชวงศ์รองมาก็ทำการสร้างพระเจดีย์รายไว้รอบวัดพระศรีสรรเพชญ ส่วนมากแล้วการลอยพระอังคารจะเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการจัดการจึงมีหลักฐานอยู่น้อยมากว่ากระทำลอยพระอังคารกันที่ไหนบ้าง
         คำว่า “อังคาร” นั้น หมายถึง ถ่านไม้ ถ่านเผา ถ่านไฟที่กำลังปะทุอยู่ ในคำวัด หมายถึง เถ้าถ่านของศพ ที่เผาแล้ว แต่มักเข้าใจกันว่าหมายถึงอัฐิหรือกระดูกของคนตายที่เผาแล้ว และเมื่อทำพิธีเก็บอัฐิและทำบุญเสร็จแล้วนิยมรวบรวมห่อด้วยผ้าขาว ใส่โถหรือภาชนะที่ดูเหมาะสม แล้วห่อด้วยผ้าขาวนำไปทิ้งแม่น้ำหรือทะเลตอนที่มีร่องน้ำลึก โดยเชื่อว่าจะทำให้ผู้ล่วงลับได้อยู่ในสถานที่เย็นๆ โดยไม่มีใครรบกวน การกระทำพิธีแบบนี้เราเรียกว่า ลอยอังคาร
         พิธีการลอยอังคารนั้น สันนิษฐานว่าน่าจะได้รับคตินิยมมาจากอินเดีย เหตุเพราะคนอินเดียถือว่าแม่น้ำคงคาเป็นแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ชำระบาปได้ ด้วยเหตุนี้การเผาศพจึงชอบที่จะมาเผากันที่ริมแม่น้ำคงคากันมาก ทั้งนี้ก็เพียงเพื่อจะได้นำกระดูกและเถ้าถ่านทิ้งลงแม่น้ำแห่งนี้ เพราะถ้าไม่ได้สัมผัสกับน้ำในแม่น้ำคงคาแล้วก็จะไม่ได้ขึ้นสวรรค์ หรือไม่หมดบาปนั่นเอง
         สำหรับประเทศไทยนั้น ได้มีการบันทึกในพงศาวดารกล่าวถึงพิธีการลอยอังคาร โดยเฉพาะการลอยพระอังคารของบรรดาเจ้านายต่างๆ ไว้อย่างชัดเจน และสืบเนื่องมากระทั่งกรุงรัตนโกสินทร์ อย่างไรก็ตาม ดังที่กล่าวมาแล้วว่า พิธีการลอยอังคารนั้นน่าจะมีที่มาจากอินเดีย ก็ยังคงมีความซับซ้อนไปอีกชั้นนึง โดยเชื่อว่าน่าจะมาจากอินเดียที่นับถือศาสนาฮินดูเป็นหลัก เหตุเพราะถ้าเป็นคติทางพุทธแล้ว มักจะนิยมเผาศพแล้วเอาอัฐิธาตุ (กระดูก) ฝังและก่อกองดินหรือกองหินตรงที่ฝัง ซึ่งเรียกกันว่า “สถูป”
         ดังนั้นประเทศไทยจึงรับเอาวัฒนธรรมประเพณีนี้มาทั้งสองทาง คือ ทั้งฮินดูและพุทธ กล่าวคือสำหรับทางพุทธ ถ้าเป็นคนชั้นสูงก็จะก่อพระเจดีย์บรรจุอัฐิธาตุ ถ้าเป็นคนชั้นล่างก็เป็นแต่เพียงฝังอัฐิธาตุหรือเอาไปกองทิ้งไว้โคนต้น ส่วนพระอังคารหรือถ่านที่เผาพระศพ ก็จะเชิญไปลอยปล่อยไปในแม่น้ำตามคติทางฮินดู เพิ่งมาเลิกลอยพระอังคาร มีการปรับเปลี่ยนเป็นบรรจุเมื่อรัชกาลที่ มานี้เอง

  • ตุงแดง

         ตุง เป็นภาษาล้านนา หมายถึง ธง มีอยู่หลายชนิด  มีการใช้ที่แตกต่างกัน 



               แยกเป็นประเภทใหญ่ๆอยู่ ประเภท

                 1. ตุงใช้งานมงคล เช่นตุงตามงานปอยหลวง ตุงปีใหม่ ตุงไจย
                 2. ตุงที่ใช้งานอวมงคล เช่น ตุงแดง ตุงเหล็กตุงตอง ตุงสามหาง

         ตุงแดงเป็นตุงที่ใช้ในพิธีสวดถอนผีตายโหง ทำจากผ้า หรือกระดาษสีแดง เวลามีการตายผิดปกติ เช่นเกิดอุบัติเหตุ รถชน ถูกฆ่าตาย ฯลฯ ทางล้านนามีความเชื่อว่า จิตวิญญาณของผู้ตายจะไม่ยอมไปไหนถ้ายังไม่ได้สวดถอนออกไป จะต้องนิมนต์พระสงฆ์ รูป มาสวดถอน ของที่ใช้ในพิธี ก็จะมีสะตวงถอน(ทำจากกาบกล้วย)และตุงแดง เวลาเห็นตุงสีแดงไม่ใหญ่มาก ปักอยู่ข้างถนน(ภาคเหนือ) แสดงว่ามีอุบัติเหตุ และมีคนตายตรงนั้น เพราะฉะนั้นอย่าประมาทในการใช้รถใช้ถนน



แหล่งอ้างอิง:
พิธีลอยอังคาร https://www.sanook.com/horoscope/126269/?fbclid=IwAR0c0_rVYPaF3Qih2Foq9LtHaKhbQF081I5lgMBQzbyUDMzIXlJntg0lhU8
พิธีลอดตาแหลว 1.https://www.gotoknow.org/posts/387273?fbclid=IwAR2jV5VZ2guUGPNbFKxzUr1SjkDvXWIjchsEgh0pDYUz2zttH5z3G23dy6U
                           2.https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/699147?fbclid=IwAR3ain84ZuLSKImWC7Rp_37hWhBzfMHFZrxG6sMYdVuTDwGQuGAhYSePaNQ
ตุงแดง https://www.stou.ac.th/study/projects/training/text/4/page1-8-50(500).html?fbclid=IwAR3xEiqTBmjelU1sMsjypN1JzwnGXsRDyUAu5eTpgrx-86mYH2E7V8QyMRQ